31 May, 2024

สิ่งที่ควรรู้ก่อนทำห้องเก็บเสียง


 

          ในการทำห้องเก็บเสียงคนทั่วไปมักมีความเชื่อผิดๆ ว่าเพียงนำแผ่นมาแปะที่ผนังแล้วก็สามารถกันเสียงได้แล้ว ซึ่งความจริงนั้นสามารถกันเสียงได้เพียง 3-5 dB เท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอ และอาจไม่ตอบโจทย์ต่อการใช้งานจริง ซึ่งขั้นตอนที่ควรจะเป็นนั้นควรเริ่มจากระบุว่า ต้องการทำห้องเก็บเสียงเพื่อใช้งานในรูปแบบใด สำหรับเป็นห้องเล่นเกม studio หรือห้องประชุม ที่ต้องการระดับการเก็บเสียงที่ไม่เท่ากัน

 

          ซึ่งต้องผ่านขั้นตอนสำคัญอย่างการประเมินพื้นที่ เพื่อให้สามารถออกแบบห้องเก็บเสียงที่มีคุณภาพในโซลูชั่นที่เหมาะสม และ ใช้งานได้ดีตามที่วางไว้ ในบทความนี้จะนำเสนอสิ่งสำคัญที่ต้องรู้สำหรับผู้ที่กำลังจะวางแผนทำห้องเก็บเสียง

 

1. หาแหล่งกำเนิดเสียง

          ในขั้นตอนแรกตรวจสอบว่าเสียงนั้นมีต้นกำเนิดเสียงมาจากจุดไหน ทางใดบ้าง จากภายนอกหรือภายในอาคาร เช่น เสียงคนเดินที่ดังมาจากชั้นด้านบน เสียงดนตรีจากบริเวณรอบข้าง หรือ เสียงรถบนถนน เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงและครบทุกจุด

 

2. หาจุดที่เสียงจะสามารถเข้ามาได้

  • ประตู หน้าต่าง

    ภายในห้อง อาคารมักจะมีประตูหรือหน้าต่าง ที่มักจะเป็นจุดที่ทำให้เกิดปัญหาเสียงเล็ดลอดเข้ามาได้ เนื่องจากมีช่องที่เสียงสามารถผ่านเข้ามาได้  สามารถแก้ไขได้โดยใช้เทปกันเสียงมาอุดตามช่องต่างๆ เพื่อป้องกันเสียงเข้ามาสู่ภายในห้องได้

  • ผนัง ฝ้า เพดาน

    คอนโด หรือ ตึกหอพักมักจะประสบกับปัญหาเสียงทะลุจากผนังหรือฝ้าเพดาน เนื่องจากผนังที่ติดกัน บวกกับมีหลายปัจจัยที่ทำให้เสียงทะลุทั้งความหนา วัสดุ ฉนวนภายในผนัง หรือ อาจจะสร้างผนังไม่ชนท้องพื้นชั้นด้านบน ทำให้เสียงเล็ดลอดเข้ามาได้ โดย สามารถแก้ไขได้ด้วยการเสริม วัสดุที่กันเสียงได้อย่าง แผ่นกันเสียง หรือ ผนังกันเสียง เพิ่มเข้าไปกับผนังเดิม ช่วยป้องกันเสียงดังทะลุเข้าออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

3. เลือกใช้วัสดุให้เหมาะสม

          สำหรับการทำพนัง หรือกำแพงกันเสียงนั้นต้องคำนึงถึงวัสดุที่จะนำไปติดตั้งให้เหมาะสมกบการใช้งาน โดยวัสดุที่นิยมใช้ในการทำพนังห้องเก็บเสียงนั้นมี 2 ชนิดด้วยกันดังนี้

 

3.1 ZOUND ACOUSTIC WOOL : ทำมาจากใยแก้วที่มีโพรงอากาศมาก มีคุณสมบัติกันเสียงย่านกลาง – สูง (เช่น เสียงพูดคุย เสียงแตรรถ เสียงกีตาร์) ได้เป็นอย่างดี เหมาะกับห้องเก็บเสียงทั่วไป

3.2 ZOUND POLYMER PROOF : ทำมาจากพอลิเมอร์ ที่มีคุณสมบัติกันเสียงย่านต่ำได้เป็นอย่างดี (เช่น เสียงโทนทุ้มต่ำ เสียงเบส) เหมาะกับห้องซ้อมดนตรี สถานบันเทิง หรือโรงภาพยนต์ ที่ต้องการระดับการเก็บเสียงที่สูง เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานได้

 

          อย่างไรก็ตามเราแนะนำว่าไม่ควรลองทำเองหากไม่ได้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้จริงๆ เนื่องจากการจะทำห้องเก็บเสียงนั้น ต้องใช้การวิเคราะห์ ตั้งแต่ประเมินโครงสร้าง หาแหล่งกำเนิดเสียง และ ออกแบบติดตั้ง ซึ่งถ้าหากลองประเมิน และ ลงมือทำเอง อาจจะเสียงบประมาณ รวมถึงไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด

 

          ใครกำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญ ZOUND เรายินดีให้คำปรึกษา เรามีวัสดุเก็บเสียงทุกรูปแบบ พร้อมบริการประเมินหน้างานจริง ให้คำแนะนำ ปรึกษาทุกขั้นตอนในการทำห้องเก็บเสียงที่ตรงใจคุณที่สุด

 

นึกจะกันเสียงรอบข้างนึกถึง "ZOUND"

 

สามารถติดตามข่าวสารได้ทาง

แฟนเพจ ZOUND Click!!!

ไลน์ ZOUND Click!!!

เว็บไซต์ https://zound.me/ Click!!!

 

^